หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทานและองค์ประกอบของทานที่สมบูรณ์



ต่อไปนี้ขอกล่าวต่อ เรื่องของทาน
เพราะว่ามีหลายประการมาเกี่ยวข้อง
เช่นระดับของทานตามห้วงทำนอง
ของการให้ที่คล้องจองมีสามประการ….
เริ่มจากหนึ่ง”ทาสทาน”คือการให้ต่ำกว่า 
สองตามมา”สหายทาน” ให้ของที่เสมอ
สาม”สามีทาน”ของที่ให้นั้นเลิศเลอ
โปรดตรองนะเราเคยให้อย่างไรกัน….
การให้ทานนั้นหมายถึง ละความตระหนี่
ตัดตัวที่สร้างความโลภ ไม่โศกศัลย์
หากว่าทรัพย์นั้นหมดสูญมลายพลัน    
 เคยให้ทานจิตนั้นไม่สั่นคลอน….
 การให้ทานนั้นยังมีข้อเตือนไว้
ว่าอย่าให้ทานหมดตัวจนเดือดร้อน
ถือเป็นการเบียดเบียนตนจิตบั่นทอน
เกิดนิวรณ์ ขาดพิจาณา ค่าของทาน….

ความบริสุทธิ์ขององค์ทานท่านว่าไว้
คือผู้ให้ ผู้รับ และสิ่งของ ต้องสมาน
สามบริสุทธิ์นี้หนอต้องกระทำ  
อานิสงค์เลิศล้ำค้ำบุญเต็มใบ….
แต่จะมีทานใดเล่าใหญ่เท่า “อภัยทาน”
ที่ลดหลั่นคือ”ธรรมทาน” ทั้งหลาย
อีก”สังฆทาน” “ วิหารทาน” อย่าได้คลาย
จงมุ่งหมายจิตมั่น “ทาน”ทั้งปวง....  
                                                                                 ๒๙ สิงหาคม พ.. ๒๕๕๕

การให้ทาน คือการสละทรัพย์สิ่งของเงินทอง ของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน  ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ

ระดับของทานที่ให้มีด้วยกัน ๓ ประการคือ . ทาสทาน หมายถึงการให้สิ่งของต่ำกว่าที่ตนเองใช้สอย
.สหายทาน หมายถึงการให้ของใสอยเสมอที่ตนเองได้ใช้ และ . สามีทาน หมายถึงการให้ของที่สูงกว่าตนเองใช้สอย

องค์ประกอบของทานมี ๓ ข้อดังนี้คือ
. " วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์ "
วัตถุทานที่ให้ จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ แสงหามาได้ด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น . "เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์ "
การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่นความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ " โลภกิเลส " และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุข
.เจตนาบริสุทธิ์ ซึ่งต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ

( ๑ ) ก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะทานก็จะมีจิตที่โสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน

( ) ขณะที่กำลังให้ทาน เวลาที่กำลังให้ทานอยู่นั้น ก็ทำด้วยจิตใจยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น

( ๓ ) หลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้น ๆ
 
@@@@@

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น